Monday, March 11, 2013

แนวรับและแนวต้าน

บทความนี้แปลมาจากต้นฉบับจาก link นี้

แนวรับและแนวต้าน
เขียนโดย Lance Beggs

แนวรับ (support) และแนวต้าน (resistance) - สิ่งที่ใช้ในการเทรดที่เยี่ยมที่สุด

ถึงแม้จะมีการโฆษณาชวนเชื่อเต็มไปหมดจากนักการตลาดทางอินเตอร์เนตที่พยายามจะขาย ความลับ ในการเทรดล่าสุดให้กับคุณ ความจริงก็คือ มัน ไม่มี ความลับ
 
*ระบุ setup (สัญญาณในการเข้าเทรด) ที่มีความเสี่ยงต่ำลง และ/หรือ มีโอกาสเป็นไปได้สูงขึ้น
*เข้าเทรดและดูแลมันในลักษณะที่สอดล้องกันและมีวินัย
*จำกัดความเสี่ยงให้น้อยที่สุด
*บริหารเงินของคุณ
*บริหารอารมณ์ของคุณ
*บันทึกผลลัพธ์ของคุณ และทบทวนมันเพื่อระบุถึงสิ่งที่ใช้ได้ผลและสิ่งที่ใช้ไม่ได้ผล
*ทำสิ่งที่ใช้ได้ผลอย่างต่อเนื่องเรื่อยไป และ
*ปรับปรุงสิ่งที่ใช้ไม่ได้ผล

ถ้าคุณยังไม่ประสบความสำเร็จในการเทรด มันเป็นเพราะคุณไม่ได้ทำหนึ่งสิ่ง (หรือ บางทีอาจจะทั้งหมด) จากสิ่งเหล่านี้

ไม่มีความลับ!

ดังนั้น มันถึงเวลาที่จะหยุดตามหาวิธีอันมหัศจรรย์ และลงมือทำในสิ่งล้าสมัยที่ดีบางอย่าง

และเป็นสิ่งที่ควรจะเริ่มต้นก่อนหัวข้อแรกจากลิสต์รายการด้านบน - ระบุ setup (สัญญาณในการเข้าเทรด) ที่มีความเสี่ยงต่ำลง และ/หรือ มีโอกาสเป็นไปได้สูงขึ้น 

หนังสือการวิเคราะห์ทางเทคนิคทุกเล่มในตลาดแสดงกราฟจำนวนหนึ่งพร้อมด้วยเส้นในแนวนอน และให้ชื่อเส้นเหล่านั้นว่า แนวรับ หรือแนวต้าน ทำไมถึงเรียกมันเช่นนั้นหล่ะ เพราะว่ามันดูเจ๋ง และคุณสามารถอวดเพื่อนๆว่าคุณฉลาดแค่ไหนในการวิเคราะห์ตลาดอย่างนั้นเหรอ อืม ใช่ บางทีนั่นก็มีส่วน แต่คุณเคยที่จะหยุดและถามจริงๆไหมว่าทำไมคุณควรใส่ใจถ้าพฤติกรรมของราคาสามารถเด้งกลับโดยเส้นๆหนึ่ง จริงๆแล้วมันหมายความว่าอย่างไรถ้าราคาไม่สามารถทะลุผ่านระดับในแนวนอนที่จำเพาะเจาะจงที่ค่าใดค่าหนึ่งในอดีต ทำไมคุณควรใส่ใจถ้าราคาพุ่งขึ้นอย่างสม่ำเสมอทุกครั้งที่มันตกลงมาที่ระดับใดระดับหนึ่ง

เหตุผลที่เราใส่ใจเป็นเพราะว่า แนวรับและแนวต้านกำลังบอกคุณถึง setup area (บริเวณที่ควรสังเกตสัญญาณในการเข้าเทรด) ที่มีความเสี่ยงต่ำลง และ/หรือ มีโอกาสเป็นไปได้สูงขึ้น ขณะที่มีวิธีการมากมายในการระบุบริเวณที่มีความเสี่ยงต่ำ และ/หรือ มีโอกาสเป็นไปได้สูงขึ้น ผมยังไม่เคยพบวิธีการใดด้วยตนเอง ที่ใช้ได้ผลสำหรับผมเท่ากับแนวคิดของแนวรับและแนวต้าน

ถ้าอย่างนั้น แนวรับและแนวต้านทำงานอย่างไรหล่ะ

เราได้พูดคุยกันในบทความเมื่อเร็วๆนี้เกี่ยวกับราคาขยับได้อย่างไร เนื่องจากความไม่สมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์ เมื่อมีอุปสงค์มากกว่าอุปทาน ราคาก็ขยับขึ้นจนกว่าอุปสงค์และอุปทานจะมีความสมดุลอีกครั้ง เมื่อมีอุปทานมากกว่าอุปสงค์ ราคาก็ขยับลงจนกว่าอุปทานและอุปสงค์จะกลับมาสมดุลอีกครั้ง เราสามารถใช้แนวคิดนี้ในการอธิบายบริเวณแนวรับ หรือแนวต้านได้ด้วย

เรามาเริ่มพิจารณาแนวต้านเป็นอันดับแรก

ราคาขยับขึ้นขณะที่อุปสงค์มีมากกว่าอุปทาน อย่างไรก็ตาม ขณะที่ราคาขยับขึ้น มันจะลดความดึงดูดต่อผู้ซื้อ ซึ่งนำไปสู่อุปสงค์ที่ลดลง และมันจะเพิ่มความดึงดูดต่อผู้ขาย ซึ่งนำไปสู่อุปทานที่เพิ่มขึ้น ถ้าสัดส่วนระหว่างอุปทานและอุปสงค์สามารถพลิกมาทางฝั่งของอุปทาน ราคาจะขยับลง

แนวต้านก็คือบริเวณที่แสดงหลักฐานของการหยุดชะงักของการขยับขึ้นของราคาในอดีต ราคาชนบริเวณแนวต้าน และกลับตัวเพื่อจะลงอีกครั้ง ถ้าให้ง่าย ลองคิดว่าแนวต้านเป็นเหมือนเพดานที่ต้านการขยับขึ้นของราคา



แนวรับก็ทำงานเหมือนกันมาก ราคาขยับลงเมื่ออุปทานมีมากกว่าอุปสงค์ อย่างไรก็ตาม ขณะที่ราคาขยับลง มันจะลดความดึงดูดต่อผู้ขาย ซึ่งนำไปสู่อุปทานที่ลดลง และมันจะเพิ่มความดึงดูดต่อผู้ซื้อ ซึ่งนำไปสู่อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ถ้าสัดส่วนระหว่างอุปทานและอุปสงค์สามารถพลิกมาทางฝั่งของอุปสงค์ ราคาจะขยับขึ้น

ดังนั้น แนวรับก็คือบริเวณที่แสดงหลักฐานของการหยุดการขยับลงของราคาในอดีต และนำไปสู่การขยับขึ้นของราคา ถ้าให้ง่าย ลองคิดว่าแนวรับเป็นเหมือนพื้นห้องที่รองรับราคา



ถึงตรงนี้ คุณอาจมีสองคำถาม

(1) เพราะว่าเราเพียงสามารถระบุแนวรับและแนวต้านในอดีต นั่นมันจะช่วยในการเทรดของเราในตอนนี้ได้อย่างไร ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เราไม่ได้เทรดอดีต เราเทรดสิ่งที่กำลังแสดงที่ขอบด้านขวาของกราฟ และ

(2) สิ่งนี้จะให้โอกาสเราสำหรับการเทรดที่มีความเป็นไปได้สูงและมีความเสี่ยงต่ำได้อย่างไร

แนวรับและแนวต้านครั้งก่อนๆ พบได้มากมายหลายบริเวณ swing high หรือ swing low ครั้งก่อนๆ, บริเวณที่เป็น congestion ครั้งก่อนๆ, round number (ตัวเลขหลักถ้วนๆ) และ gap (ช่องว่าง) ครั้งก่อนๆ เมื่อราคาย้อนกลับมาที่บริเวณเหล่านี้ มีโอกาสที่ดีที่พวกมันจะทำหน้าที่แนวรับหรือแนวต้านอีกครั้ง ที่เป็นเช่นนี้เกิดขึ้นจากหนึ่งในสองเหตุผลต่อไปนี้

(a) นักเทรดคาดหวังว่ามันจะทำหน้าที่เป็นแนวรับหรือแนวต้าน และลงมือเทรดตามนั้น จึงเป็นการสร้างแนวรับหรือแนวต้านขึ้นมา หรือ

(b) นักเทรดมีความจำเป็นทางจิตวิทยาที่จะเทรดในบริเวณนี้ ซึ่งก็เป็นการสร้างบริเวณแนวรับหรือแนวต้าน อีกเช่นกัน

ความจริงง่ายๆที่ว่าเราสามารถคาดหวังในปัจจุบันให้บริเวณเหล่านี้เป็นแนวรับหรือแนวต้านอีกครั้ง และทำให้ราคาหยุดกลางคัน และกลับทิศอย่างเป็นไปได้ ให้โอกาสเราสำหรับการเทรดที่มีความเป็นไปได้สูง

และยิ่งเราสามารถเข้าเทรดใกล้จุดของแนวรับหรือแนวต้านมากเท่่าไหร่ ความเสี่ยงของเราต่อการเทรดนั้นๆก็ยิ่งต่ำลงมากเท่านั้น เพราะจุดตัดขาดทุนของเราโดยทั่วไปสามารถวางไว้เลยบริเวณแนวรับหรือแนวต้านนั้นๆ

ในบทความต่อๆไป เราจะดูกราฟจำนวนหนึ่งที่ให้ตัวอย่างสำหรับแนวรับหรือแนวต้านแต่ละชนิด (swing highs และ lows, บริเวณ congestion, round numbers และ gaps) เราจะพูดคุยถึงเหตุผลที่พวกมันเกิดขึ้น (ไม่ว่าจะเนื่องจากการคาดหวัง หรือความจำเป็นทางจิตวิทยาที่จะเทรด) และให้ตัวอย่างว่าบริเวณเหล่านี้จะให้ setup ที่ยอดเยี่ยมได้อย่างไร

จนกว่าจะถึงตอนนั้น ทบทวน setup ของคุณ และถามตัวคุณเองว่าคุณกำลังวางแผนการเทรดของคุณในบริเวณที่ให้การเทรดที่มีความเสี่ยงต่ำ  และ/หรือมีความเป็นไปได้สูง หรือเปล่า

และโปรดจำไว้ แม้ว่าแนวรับและแนวต้านทำให้นักเทรดระบุบริเวณที่ราคาน่าจะหยุดกลางคัน และกลับทิศอย่างเป็นไปได้ มันไม่มีการรับประกันว่าต้องเป็นเช่นนั้น คุณจำเป็นเสมอที่ต้องแน่ใจในการใช้การบริหารความเสี่ยงและเงินอย่างเหมาะสม

เทรดอย่างมีความสุข

Lance Beggs