Saturday, May 4, 2013

แนวรับและแนวต้าน 3 - บริเวณ congestion

บทความนี้แปลมาจากต้นฉบับจาก link นี้

แนวรับและแนวต้าน 3 - บริเวณ congestion
เขียนโดย Lance Beggs

แนวรับและแนวต้าน 3 - บริเวณ congestion

ขอต้อนรับกลับเข้าสู่บทความที่สามในหัวข้อแนวรับและแนวต้าน ในบทความล่าสุด เรามองออกว่า swing highs และ lows นำไปสู่การพัฒนาของแนวรับและแนวต้านได้อย่างไร, ผ่านทางพฤติกรรมของนักเทรด - ไม่ว่าจะเป็นการคาดหวังว่าบริเวณเหล่านี้จะเอาอยู่ หรือนักเทรดถูกบีบบังคับทางจิตวิทยาให้ออกจากการเทรดที่ขาดทุน ณ จุดที่กลับมาเท่าทุน

ถ้าคุณยังไม่ได้อ่านสองบทความแรกในหัวข้อนี้ หรือยังไม่ค่อยเข้าใจในแนวความคิดหลังจากการอ่านครั้งแรก โปรดทบทวนบทความที่หนึ่งและสอง ที่นี่: (แนวรับและแนวต้าน1, แนวรับและแนวต้าน2)

ข่าวดีก็คือ ถ้าคุณได้เข้าใจแนวความคิดจากบทความ swing highs และ lows แล้ว บทความนี้ก็จะเป็นเรื่องง่ายๆ

บริเวณ congestion คือการก่อตัวของราคาในแบบที่สองที่ผมมองหาในการระบุบริเวณของแนวรับหรือแนวต้านที่เป็นไปได้

อะไรคือ congestion คำนิยามง่ายๆก็คือ มันเป็นพฤติกรรมของราคาในการเคลื่อนตัวไปในแนวข้าง (sideways) นั่นเอง มองหาราคาที่เคลื่อนที่ภายในกรอบแคบๆ บ่อยครั้งจะประกอบด้วยแท่งราคาที่เคลื่อนที่ขึ้นสลับกับแท่งราคาที่เคลื่อนที่ลง และเป็นพฤติกรรมที่ไม่มีแนวโน้ม (no trend) ย้ำอีกคร้ัง เช่นเดียวกับ swing highs และ lows ผมไม่กังวลมากจนเกินไปเกี่ยวกับคำนิยาม ถ้ามันดูเหมือน congestion มันก็คือ congestion

มีคนกล่าวว่ารูปหนึ่งรูปมีค่ามากกว่าหนึ่งพันคำ ดังนั้นเรามาดูกราฟจำนวนหนึ่งที่น่าจะทำให้แนวคิดนี้ชัดเจนขึ้น


ในตัวอย่างแรกนี้ บริเวณ A ก่อตัวเป็น congestion เคลื่อนตัวไปในแนวข้าง เมื่อราคาย้อนกลับมาที่บริเวณนั้น ณ จุด B คุณได้รับโอกาสการเทรด short ที่มีความเป็นไปได้ที่สูงกว่าและความเสี่ยงที่ต่ำกว่า

แนวคิดนี้มีหลักการอย่างไร การคาดหวังของบริเวณที่จะเป็นแนวต้านที่มีศักยภาพจะทำให้นักเทรดที่ถือ long ในช่วงที่ราคาขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องขึ้นไปหา B ทำการเก็บกำไรออกจากตลาดจากการคาดหวังว่าจะเจอแนวต้าน หรืออย่างน้อยก็ขยับจุด stop ให้ใกล้เข้ามา เพื่อที่จะออกจากตลาดถ้า B ต้านอยู่

การคาดหวังของบริเวณที่จะเป็นแนวต้านที่มีศักยภาพจะทำให้นักเทรดอีกกลุ่มหนึ่ง ทำการเข้า short เพื่อจะเก็บกำไรจากการเคลื่อนที่กลับลงไปด้านล่าง

และนักเทรดบางคนที่ได้เข้า long ในบริเวณ congestion A และอดทนต่อช่วงขาดทุนที่กระอักกระอ่วน ระหว่าง A และ B คงจะยอมรับโอกาสที่จะออกจากตลาดแบบเท่าทุนบริเวณใกล้ๆ B อย่างปลื้มปีติ

นักเทรดในทั้งสามกลุ่มเหล่านี้จะดำเนินการด้วยคำสั่งขาย ซึ่งเพิ่มอุปทานในบริเวณใกล้ๆ B และเป็นการเพิ่มความน่าจะเป็นของบริเวณแนวต้้านที่มีศักยภาพนี้ที่จะต้านอยู่ สิ่งนี้เพิ่มโอกาสของการเทรดที่ได้กำไร (ความน่าจะเป็นที่สูงกว่า) การเทรดที่มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าจะได้จากความสามารถในการวางจุด stop loss ที่ช่วงแคบๆ เลยขอบบนของแนวต้าน

เรามาดูอีกหนึ่งตัวอย่าง


ตัวอย่างที่สองนี้ (ข้างบน) ก็เป็น setup แบบเดียวกับตัวอย่างที่หนึ่ง ราคาในบริเวณ A ถึง B ก่อตัวเป็น บริเวณ congestion สัญลักษณ์ของแนวต้านที่เป็นไปได้ถ้าราคาย้อนกลับมาที่บริเวณนั้น เมื่อราคามาถึงที่นั่น ณ C การเพิ่มขึ้นของอุปทานจะเกิดขึ้นเนื่องจาก นักเทรดบางคนที่ถือ long จะทำกำไร นักเทรดคนอื่นๆเข้า short จากการหยุดชะงักครั้งแรก และคนอื่นๆออกจากการถือ long แบบเท่าทุนหลังจากอดทนต่อช่วงขาดทุนจากการเข้า long ของพวกเขาในบริเวณ congestion ใกล้จุด B อุปทานที่เพิ่มขึ้นนี้ เพิ่มโอกาสที่บริเวณแนวต้านจะต้านอยู่ และเพิ่มโอกาสที่ราคาจะขยับลงอีกครั้งจากบริเวณ C

ตัวอย่างที่สาม (ข้างล่าง) แสดง setup ที่ผมชอบจริงๆ - การซื้อขายช่วงก่อนที่ตลาดจะเปิด ก่อตัวเป็นบริเวณ congestion ที่สวยจริงๆ หลังจากนั้นราคาก็ทะลุออกจากบริเวณ congestion ที่จุด A ถ้าราคาย้อนกลับมาที่บริเวณนั้น ผมจะดำเนินการด้วยการคาดหวังว่าแนวรับจะรับอยู่ ให้ผมได้การเทรดที่มีความเป็นไปได้ที่สูงกว่า, ความเสี่ยงที่ต่ำกว่า

 
มันไม่นานสำหรับรางวัลที่จะมา น้อยกว่า 30 นาทีหลังจากการทะลุออกไป ราคาได้ย้อนกลับมาที่บริเวณเดิม นักเทรดบางคนที่เข้า short ซึ่งบางทีอาจจะเป็นการ short แบบสั้นๆจาก swing high กลับไปหาแนวรับ จะทำกำไรและออกจากตลาด คนอื่นๆจะเข้า long จากการหยุดชะงักครั้งแรกในบริเวณนี้ และคนอื่นๆที่ได้เข้า short ไว้ในบริเวณ congestion ที่จุด A จะใช้โอกาสนี้ในการออกจากตลาดแบบเท่าทุนที่ B และปลดปล่อยตัวเขาเองจากความเจ็บปวดในช่วงขาดทุน  ธุรกรรมเหล่านี้ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับคำสั่งซื้อ ซึ่งเพิ่มจำนวนอุปสงค์ที่บริเวณนี้ และเพิ่มความเป็นไปได้ที่บริเวณแนวรับนี้จะรับอยู่

ตัวอย่างต่อมาจะกลับกัน อีกครั้งที่มันแสดงการซื้อขายช่วงก่อนที่ตลาดจะเปิด ก่อตัวเป็น congestion เคลื่อนที่ไปในแนวข้างที่แคบมากๆ แต่ว่าครั้งนี้ราคามี false break-out long ก่อนที่จะเคลื่อนตัวไปด้านล่าง นี้ทำให้เกิดโอกาสที่ยอดเยี่ยมถ้าราคาย้อนกลับมาที่นั่น

 
การย้อนกลับเกิดขึ้นที่บริเวณ B ที่ซึ่งแนวต้านๆอยู่ เนื่องจาก นักเทรดที่มีกำไรจากการ long (ถือช่วงสั้นๆจาก swing low) ขายทำกำไร นักเทรดคนอื่นๆขายเพื่อเข้า short จากการคาดหวังว่าแนวนี้จะต้านอยู่ และเื่นื่องจากคำสั่งขายของนักเทรดที่เข้า long เอาไว้ที่จุด A ที่ทนทุกข์จากช่วงขาดทุน และถือโอกาสนี้ในการออกจากตลาดแบบเท่าทุนที่จุด B

มีโอกาสในตลาดอย่างสม่ำเสมอ เราลองมาตรวจสอบ timeframe อื่นๆ และตลาดอื่นๆ กันดู

 
กราฟข้างบนคือกราฟ e-mini Dow ที่ 15 นาที บริเวณ congestion A รับอยู่เมื่อราคาย้อนกลับมาที่นั่นหลังจากการเผยแพร่ตัวเลขทางเศรษฐกิจ ที่ B, และอีกครั้ง เมื่อหนึ่งชั่วโมงและสิบห้านาทีต่อมา บนแท่งเทียนช่วงเปิดตลาดที่ปรวนแปร


และข้างบน คุณจะพบกราฟ 5 นาที ของ Google (คุณอาจจะเคยได้ยินชื่อนี้มาบ้าง)

บริเวณ congestion ที่ A นำไปสู่โอกาสที่ยอดเยี่ยมสำหรับการเทรดในทิศทาง long เมื่อราคาย้อนกลับมาที่นั่น ที่ B

และ เรามาปิดท้ายด้วยสองการแสดงสุดท้ายของแนวคิดนี้ที่ประยุกต์ใช้กับกราฟรายวันได้ด้วย

 
กราฟแรก (ข้างบน) คือกราฟ e-mini Dow รายวัน บริเวณ congestion ที่ A นำไปสู่การเทรด long ที่ยอดเยี่ยมที่ B และ บริเวณ congestion ที่ C นำไปสู่การเทรด short ที่ยอดเยี่ยมที่ D

ผมไม่รู้ว่าคุณคิดยังไง แต่ผมชอบหัวข้อนี้จริงๆ!!!

หนึ่งตัวอย่างสุดท้าย - IBM รายวัน


บริเวณ congestion เคลื่อนที่ไปในแนวข้างที่เข้มข้น ระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ และกลางเดือนเมษายน นำไปสู่การเทรดที่ยอดเยี่ยมในทิศทาง long เมื่อแนวรับๆอยู่ ที่ B ในเดือนกรกฎาคม

มองหา setups เหล่านี้จากกราฟของคุณเอง และพยายามเข้าใจว่าบริเวณเหล่านี้สามารถให้การเทรดที่มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า, มีความเป็นไปไ้ด้ที่สูงกว่า กับคุณอย่างไร

ตอนต่อไปของแนวรับและแนวต้าน บางสิ่งที่แตกต่างเล็กน้อย ตัวเลขหลักถ้วนๆ (round numbers)

เทรดอย่างมีความสุข

Lance Beggs